สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

เครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์กับเที่ยวบินประวัติศาสตร์รอบโลก

เครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์กับเที่ยวบินประวัติศาสตร์รอบโลก

เครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์กับเที่ยวบินประวัติศาสตร์รอบโลก

         เครื่องบินที่สามารถบินรอบโลกได้ทั้งกลางวันและกลางคืนโดยไม่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน

นอกจากพลังงานแสงอาทิตย์แล้วท่านจะยังสามารถใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดอื่นๆได้อีกหรือไม่?

        โซลาร์ อิมพัลส์ (Solar Impulse) เริ่มก่อตั้งในปี ค.ศ. 2003 โดยนักผจญภัยชาวสวิสชื่อ Bertrand Piccard 

ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่เดินทางรอบโลกโดยใช้บอลลูนและนักธุรกิจธุรกิจชาวสวิสชื่อ Andre Borchberg จากนั้นทั้งสองคน

ได้ขับเครื่องบินต้นแบบ Solar Impulse 1 บินข้าม 3 ทวีป ตลอดทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืนและสร้างสถิติระดับ

นานาชาติขึ้นมาอีกหนึ่งสถิติ


         Solar Impulse 1 เป็นเครื่องบินแบบปีกเดียว 1 ที่นั่ง สามารถขึ้นบินได้ด้วยพลังงานไฟฟ้าของตัวเอง รวมทั้ง

ได้รับการออกแบบให้สามารถบินอยู่ในอากาศได้นานถึง 36 ชั่วโมง

         เครื่องบิน Solar Impulse 1 ลำนี้ได้นำไปทดสอบการบินครั้งแรกในปี ค.ศ. 2009 จากนั้นได้ขึ้นบินทดสอบครั้งแรก

โดยบินตามรอบแสงอาทิตย์ที่ปรากฎในแต่ละวันและยังสามารถขึ้นบินเกือบ 9 ชั่วโมงในเวลากลางคืน นอกจากนั้นยัง

สามารถขึ้นบินนานได้ถึง 26 ชั่วโมงในระหว่างวันที่ 7-8 กรกฎาคม ค.ศ. 2010

         จากประสบการณ์สร้างเครื่องบินต้นแบบแสงอาทิตย์นี้ ทำให้มีการออกแบบเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม

เล็กน้อยตามมาหรือที่รู้จักกันในชื่อ Solar Impulse 2 ซึ่งได้รับการสร้างและขึ้นบินครั้งแรกในปี ค.ศ.2014 เครื่องบิน

พลังงานแสงอาทิตย์ลำใหม่นี้ได้รับการวางแผนที่จะสร้างโปรแกรมการบินระยะยาว โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 

5 เดือน ในการบินไปรอบโลกระหว่างปี ค.ศ.2015


          คุณ Ulrich Spiesshofer ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เอบีบี ได้กล่าวว่า “Solar Impulse จะช่วยเป็น

แรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ เพื่อแก้ปัญหาความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

ของโลก และเอบีบี จะทำงานร่วมกับทีมงานของ Solar Impulse ในทุกๆ ขั้นตอนให้ไปสู่ความสำเร็จ”

         โดยวิศวกร 3 คนของเอบีบี ได้เข้าร่วมทีม Solar Impulse เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านทักษะความรู้ รวมถึง

ปรับปรุงระบบควบคุมสำหรับการปฏิบัติงานภาคพื้นดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ชาร์จอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ

แบตเตอรี่ของเครื่องบิน และแก้ปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นตลอดเส้นทางทางการบินอีกด้วย

         ที่ระยะทางการบิน 40,000 กิโลเมตร ของเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ลำนี้ นักบิน Bertrand Piccard

และ Andre Borschberg จะแบ่งหน้าที่กันขณะเครื่องบินลงจอดในเมืองต่างๆ เช่นมัสแคทในโอมาน วารานาสี

และอาเมดาบัดในอินเดีย ฉงชิ่งและนานกิงในจีน รวมทั้งโฟนิกและอริโซนาในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้เครื่องบิน

จะลงจอดในทวีปยุโรปหรือทวีปแอฟริกาเหนืออีกด้วย


         อีกหนึ่งความท้าทายของทีมนักบินและทีมภาคพื้นดินก่อนที่จะสิ้นสุดภารกิจการบินที่เมืองอาบูดาบี ในกลางปี

ค.ศ. 2015 คือการบินรวดเดียวแบบไม่ลงจอดเป็นระยะเวลา 5 วัน 5 คืนจากจีนไปยังเมืองฮาวาย และในแต่ละวัน

เครื่องบินจะใช้ไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ จำนวน 17,248 แผ่น โดยจะทะยานขึ้นบินได้สูงกว่าภูเขาเอเวอเรสต์

ในขณะเดียวกันก็จะมีการชาร์ตแบตเตอรี่แบบเต็มพิกัดเพื่อให้ระดับไฟยังคงสูงอยู่ในช่วงบินเวลากลางคืน

         Solar Impulse 2 จะบินขึ้นจากเมืองอาบูดาบี เมืองหลวงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในปลายเดือนกุมภาพันธ์

หรือต้นเดือนมีนาคม และบินกลับมาภายในปลายเดือนกรกฎาคมหรือต้นเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.2015 เส้นทางการบิน

รวมถึงการลงจอดในเมืองมัสแคทในโอมาน เมืองอาเมดาบัด และเมื่อวารานาสีในอินเดีย เมืองมัณฑะเลย์ใน

ประเทศเมียนมาร์และเมืองฉงชิ่งและเมืองนานกิงในประเทศจีน หลังจากที่บินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ผ่านเมืองฮาวาย

SI2 จะบินข้ามพื้นที่รัฐต่างๆของ Continental U.S.A. โดยจะลงจอดใน 3 เมือง คือ เมืองฟีนิกซ์ และเมืองนิวยอร์กซิตี้

ในท่าอากาศยาน JFK โดยเส้นทางการบินในภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกาจะถูกพิจารณาตามสภาพอากาศ


         หลังจากบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกแล้วภารกิจสุดท้ายของการผจญภัยคือ การลงจอดบนทวีปยุโรปตอนใต้

หรือทวีปแอฟริกาเหนือ ก่อนบินกลับมาที่เมืองอาบูดาบี และที่นั่น Solar Impulse จะเปิดเผยเส้นทางการบินนี้พร้อมกับ

ตัวแทนหุ้นส่วนของโครงการการบินนี้ ซึ่งหุ้นส่วนหลักก็คือ Solvey, Omega, Schindler และเอบีบี

         ความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมของเอบีบี กับ Solar Impulse ไม่เพียงเกิดมาจากความศรัทธาที่แบ่งปัน

นวัตกรรมและเทคโนโลยีกันเท่านั้น แต่ยังมาจากปรัชญาความเชื่อของเอบีบีด้วย นั่นคือ “พลังงานและผลผลิตจะ

สร้างโลกให้ดีขึ้น” โดยจริยศาสตร์ของ Solar Impulse จะสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเอบีบีในการช่วยเพิ่ม

ประสิทธิภาพเชิงปฏิบัติการ ลดการใช้ทรัพยากร ทำให้เกิดยานพาหนะแบบยั่งยืน และเพิ่มการใช้พลังงาน

หมุนเวียนที่สะอาด

         เอบีบี ยกย่องและพร้อมแบ่งปันวิสัยทัศน์การบินนี้ให้เป็นก้าวต่อไปในการเดินทาง เพื่อจุดประกายให้

เกิดความสนใจใหม่ๆขึ้นในวิชาการบิน เทคโนโลยีสะอาดและพลังงานหมุนเวียน “มาร่วมกัน เราต้องการที่

จะก้าวไปกับผู้คนบนโลกโดยไม่ทำลายโลก” Spiesshofer ของเอบีบีกล่าว

               

Cr. Article //ABB in brief

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view